

ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของ
เครื่องจักสานเมืองพนัสนิคม
การทำจักสาน งานหัตถกรรมพื้นบ้านของอำเภอพนัสนิคมมีมาแต่ดั้งเดิม
พร้อมกับการเกิดชุมชนเนื่องจากชาวบ้านส่วนหนึ่งของอำเภอพนัสนิคม คือชาวลาว
อพยพมาจากอาณาจักรลาว ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย ได้พาพรรคพวกอพยพมาสวามิภักดิ์
กับรัชกาลที่ 2 และที่ 3 ใน พ.ศ. 2371 จึงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวเมืองสมุทรปราการ
และอพยพย้ายถิ่นมาอยู่ที่เมืองพระรถ ซึ่งต่อมาคือ เมืองพนัสนิคม ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะสาน
เครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ ไว้ใช้ในครัวเรือนของตนเอง
ยามว่างเว้นจากการทำนา นับว่าเป็นความรู้ความสามารถที่สืบทอดกันมา
แต่บรรพบุรุษควบคู่กับอาชีพการทำนา
แต่เดิมเครื่องจักสานทำเพียงเพื่อใช้ภายในครัวเรือนเท่านั้น
ต่อมานั้นเพื่อการแลกเปลี่ยนกับสินค้าตัวอื่น เช่น ข้าว ในรูปแบบธรรมดาที่เคยใช้กันมา
และเนื่องจากชุมชนนี้อยู่ใกล้ตลาด จึงมีการนำผลผลิตในครัวเรือนออกมาสู่ระบบการซื้อขาย
จนถึงปัจจุบัน ย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีีให้หลัง ได้มีการพัฒนาฝีีมือ และรูปแบบขึ้นตามลำดับ
จึงทำให้มีเครื่องจักสานที่แปลกตา สวยงาม และประโยชน์ในการใช้สอยที่แตกต่างไปจากเดิม
รวมทั้งการนำบุคลากรที่มีความรู้ด้านนี้ และการหารูปแบบ และลายจากที่อื่นมาปรับปรุง และพัฒนาฝีีมือของชาวบ้านให้มีความรู้กว้างขวางขึ้น เพื่อการพัฒนาคุณภาพของเครื่องจักสานให้เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ ประมาณปีี พ.ศ. 2520 เป็นยุคที่เฟื่ืองฟูของงานจักสานมาก เนื่องจากมีการเผยแพร่ และส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะทวีปยุโรป อเมริกา และได้นำตัวอย่างงานมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน และอินโดนีเซีย มาสานแล้วพัฒนางานให้มีหลายรูปแบบ ซึ่งทำรายได้
ให้กับชาวบ้านอย่างมาก รวมทั้งมีการนำรูปแบบมาจากต่างประเทศเพื่อจักสานตามที่ตลาดต้องการ จึงทำให้งานจักสานของอำเภอพนัสนิคมเป็นที่รู้จัก และนิยมของตลาดผู้ซื้อมากขึ้นด้วยคุณภาพ
รูปแบบ ลวดลาย และความหลากหลายในการใช้ประโยชน์นอกเหนือจากเป็นเครื่องใช้ภายในครัวเรือน
หรือเพื่อการจับสัตว์น้ำแต่โบราณเท่านั้น